“พระพรหม”

“พระพรหม”

พระพรหม

มหาเทพแห่งการสร้างโลก

พระพรหมเป็นมหาเทพแห่งความเมตตา และลิขิตชะตาชีวิตของมนุษย์ จากคัมภีร์และตำนานมากมายทั้งในความเชื่อคนไทย คนฮินดู หรือความเชื่อของชาติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อพระวิษณุต้องการสร้างโลก ท่านจึงแบ่งภาคของท่านออกเป็น 3 ภาค เช่น พระพรหม เกิดจากสี่ข้างด้านขวา, พระวิษณุ เกิดจากสี่ข้างด้านซ้าย และพระศิวะ เกิดจากส่วนกลางของพระองค์ ในเมื่อครั้งโลกยังว่างเปล่า พระอาตมภู (ผู้เกิดเอง) ประสงค์จะสร้างทุกสิ่งบนโลก จึงสร้าง “น้ำ” ขึ้นมาก่อน แล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชโปรยลงในน้ำ

สืบเนื่องจากการสร้างน้ำ เวลาผ่านไป พืชนั้นกลายเป็นไข่ทองที่ชื่อว่า “หิรัณครรภ์” ให้กำเนิดพระพรหม จากนั้นพระพรหมจึงแบ่งร่างเป็นชาย-หญิง เพื่อให้กำเนิดมนุษย์ เพื่อแพร่พันธุ์มนุษย์บนโลก เดิมพระพรหมมี 5 เศียร พระพรหมทรงรักและหวงแหนพระมเหสี (มเหสีของพระพรหมมีหลายพระนาม เช่น สุรัสวดี, สาวิตรี, พราหมณี) เพื่อคุ้มครอง ปกป้องพระมเหสี ไม่ว่าพระมเหสีจะเสด็จไปที่ใดก็ตาม

พระองค์จะใช้ตาที่เศียรที่ 5 เฝ้าติดตาม คอยให้ความช่วยเหลือ โดยเศียรที่ 5 ของพระพรหมพูดจาดูหมิ่นพระแม่ปารวตี พระมเหสีของพระศิวะ ทำให้พระศิวะโกรธ เกิดการต่อสู้กันระหว่างพระพรหม กับพระศิวะ พระพรหมพ่ายแพ้ถูกพระศิวะใช้ดวงตาที่ 3 เพ่งไปที่เศียรที่ 5 ของพระพรหม เกิดเป็นไฟเผาผลาญเศียรที่ 5 ถูกทำลายจนเป็นพระพรหมที่มี 4 หน้าเหมือนในปัจจุบัน แต่วรรณะในอินเดียก็นำการกำเนิดมาเชื่อมโยงกัน ดังนี้

  • วรรณะพราหมณ์ (นักบวช นักวิชาการ นักการเมือง ผู้มีความรู้) เกิดจากเศียรของพระองค์
  • วรรณะกษัตริย์ (ชนชั้นปกครอง เช่น ผู้นำ อาชีพสายนักรบ เช่น ทหาร ตำรวจ รวมถึงกลุ่มข้าราชการ) เกิดจากบ่าของพระองค์
  • วรรณะแพศย์ (นักธุรกิจ พ่อค้า ชาวสวย ชาวไร่) เกิดจากท้องของพระองค์
  • วรรณะศูทร (แรงงาน กรรมกร เกษตรกร ชาวนา) เกิดจากเท้าของพระองค์

เรื่องของวรรณะแบบนี้ในอินเดีย ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการแบ่งชนชั้นด้านอาชีพและการใช้ชีวิต กลุ่มสังคมอย่างชัดเจน แต่เรื่องวรรณะมันกลายเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมปัจจุบันอย่างมากเช่นกัน

เริ่มแรกสร้างมนุษย์ให้มีขาเดียวก่อน แต่เห็นว่าเคลื่อนไหวไม่สะดวก  จึงสร้างให้มนุษย์มี 3 ขาก็เกะกะมากเกินจำเป็น ก็เลยสร้างมนุษย์ขึ้นมาให้มี 2 ขาจนถึงทุกวันนี้ โดยพระพรหมเป็นมหาเทพผู้สร้างโลก และเป็นหนึ่งในเทพตรีมูรติ ถือว่าเป็นมหาเทพสูงสุด

ในประเทศอินเดียจะมีเทศกาลบวงสรวงบูชาพระพรหมช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เรียกว่า “เทศกาลบูชการ์คาเมลา” แม้แต่ประเทศในแถบเอเชีย เช่น ไทย จีน ญี่ปุ่น รับอิทธิพลการบวงสรวงบูชาพระพรหมมากกว่าชาวฮินดูโบราณเสียอีกในยุคปัจจุบัน

ติดตามบทความ Horoscope ในทุกสัปดาห์ได้ที่ baan8mongkol.com

FB : รวมพลคนบันเทิง

Facebook
Twitter
Skype